การทำโปสเตอร์


การออกแบบโปสเตอร์
หลักการออกแบบโปสเตอร์
        ในการออกแบบโปสเตอร์มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
1. ความเป็นเอกภาพ (Unity)
เป็นการทำให้สาระ และองค์ประกอบทุกส่วน มีความสัมพันธ์คล้องจองกัน เป็นการสร้างจุดรวม สายตา และการเน้นให้องค์ประกอบนั้น มีความโดดเด่นยิ่งขึ้น 
2. ดุลยภาพ หรือ ความสมดุล (Balancing)
เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย  ดูเป็นระเบียบ    เหมาะกับงานที่เป็นทางการ 
เป็นการออกแบบให้ผู้ดูรู้สึกว่า  มีความเท่ากัน  ไม่เอียง  หรือหนักไปในด้านในด้านหนึ่ง ความ 
สมดุลในการออกแบบกราฟฟิก เป็นเรื่องของความงาม ความน่าสนใจ การจัดการสมดุลในด้านรูปแบบและสี มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
2.1      สมดุลแบบซ้ายขวาเท่ากัน (Formal of Symmetrical Balance)
2.2      สมดุลซ้ายขวาไม่เท่ากัน (Formal of Asymmetrical Balance)
3. สัดส่วน (Proportion)
เป็นความพอเหมาะพอดีทางด้านสัดส่วน และรูปร่าง   เป็นการเน้นเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่าง สัดส่วนกับการจัดตำแหน่ง  สัดส่วนโครงสี  สัดส่วนกับพื้นที่ว่าง สัดส่วนของตัวอักษร ข้อความ และรูปภาพประกอบ   ตลอดจนความเข้มของแสงและเงา   การจัดสัดส่วนในรูปแบบต่างๆ จะ มีผลให้เกิดความน่าสนใจ และชวนมองยิ่งขึ้น
4. ความมีจุดเด่น (Emphasis)
เป็นการสร้างจุดสนใจ ให้ผู้ดูได้รับข้อมูลหลักตามที่ตั้งเป้าหมายไว้   ผู้ออกแบบจะกำหนดว่า ส่วนใดจะเป็นส่วนสำคัญ  เป็นส่วนที่ต้องการเน้นให้เห็นชัดเจน  ส่วนใดเป็นส่วนประกอบเสริม หรือเป็นส่วนสำคัญรอง  
การออกแบบภาพและการกำหนดตัวอักษร
        ในการออกแบบโปสเตอร์ มีส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจน คือ เรื่องของภาพ และข้อความ นอกเหนือการคัดเลือกภาพ และการคิดข้อความ ให้น่าสนใจแล้ว การออกแบบภาพ และการกำหนดตัวอักษรก็เป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนทำให้โปสเตอร์เกิดความน่าสนใจ



ขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน
อายุ                                    อักษรโรมัน                      อักษรไทย
5-7                                   18                            24-30
7-9                                   12-14                               18-30
10-12                                       11-12                               16-18
12 ขี้นไป                          11-12                               16-18
ผู้ใหญ่                                       10-12                               14-16
60 ขึ้นไป                          11-12                               16-18

ตัวอักษร หรือข้อความหัวเรื่อง จะเป็นตัวบรรยายข้อมูลสาระให้รับรู้ ดังนั้นการกำหนดตัวอักษรจึงต้องเน้นที่
        ขนาดของตัวอักษร
        รูปแบบ
        การกำหนดโครงสี
ขนาดของตัวอักษร  โดยทั่วไปมี 3 ขนาด คือ
   ขนาดใหญ่ สำหรับพาดหัว (Heading)
   ขนาดกลาง สำหรับข้อความรองพาดหัว (Sub heading)
   ขนาดเล็ก สำหรับข้อความรายละเอียด (Copy)
 หลักการออกแบบ ขนาดของตัวอักษร
        ต้องอ่านได้ชัดเจน
        พิจารณาขนาดสัดส่วนของตัวอักษรที่สัมพันธ์กับ ระยะห่างระหว่างสายตากับสิ่งที่มองเห็น
        ขนาดมาตรฐานของตัวอักษรที่ระยะห่างระหว่าง สายตา 20 นิ้ว ควรมีขนาดสูงประมาณ 1/8 นิ้ว
        ระห่างที่เพิ่มขึ้นทุก 5 นิ้ว ควรเพิ่มขนาดตัวอักษร 1/8 นิ้ว ทุกช่วงระยะห่างที่เพิ่มขึ้น
รูปแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษรต้องคำนึงถึงความสวยงามแปลกตา ชัดเจน สอดคล้องกับลักษณะของข้อความ จีงจะทำให้โปสเตอร์น่าสนใจมากขึ้น  รูปแบบของตัวอักษร อาจได้มาจากการจินตนาการรูปแบบใหม่ขึ้นมา หรือใช้ตัวอักษรที่ออกแบบไว้แล้ว
การกำหนดโครงสี
เพื่อเน้นข้อความให้เด่นชัดขึ้น สวยงามขึ้น
       ค่าน้ำหนักของสี (การตัดกันของสีตัวอักษรกับสีพื้น )
       สีที่ใช้กับตัวอักษร ไม่ควรมากเกินไป 
       ใช้สีให้เหมาะกับคำหรือข้อความ

สีคู่ตรงข้ามมี 6 คู่ ได้แก่
      สีเหลือง             ตรงข้ามกับ        สีม่วง
      สีแดง                        ตรงข้ามกับ สีเขียว
      สีน้ำเงิน             ตรงข้ามกับ        สีส้ม
      สีเขียวเหลือง              ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
      สีส้มเหลือง         ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน
      สีส้มแดง            ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน

การใช้สีในคู่ตรงข้ามควรคำนึงถึงค่าน้ำหนักของสีที่ใช้ โดยไม่ควรใช้สีคู่ตรงข้ามร่วมกันในปริมาณที่เท่ากัน ควรมีการกำหนดโดยยึดกฎ 80 : 20 โดยใช้สีขาวเพื่อเจือจาง (Tint ) หรือการใช้สีดำ หรือสีเทาเพื่อเพิ่มความเข้มของสี (Shade )


การใช้สีในโปสเตอร์จะเป็นส่วนขององค์ประกอบ ที่จะถ่ายทอดความรู้สึก เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้สัมพันธ์กับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย    เนื้อเรื่อง และวัตถุประสงค์ในการจัดทำ  นอกจากนี้ สียังช่วยสร้างบรรยากาศและ อารมณ์ร่วม   เพื่อการโน้มน้าวใจได้อีกด้วย  การใช้สีที่เหมาะสมสามารถ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมาย   เกิดพฤติกรรม  หรือปฏิบัติตามใน เรื่องนั้นๆ ได้เร็วขึ้น 

การตัดสินใจเลือกใช้สีใดในโปสเตอร์แต่ละแผ่นนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึง ความหมาย   สาระสำคัญของเนื้อหา  และอิทธิพลของสี ประกอบกันไปด้วย   เพื่อเลือกสีที่สอดคล้องกับเนื้อหา และอารมณ์ที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น สีที่ใช้ในโปสเตอร์  นิยมใช้ใน 2 ลักษณะ คือ 

    • ใช้สีที่มีความกลมกลืนกัน คือ ใช้สีที่มีวรรณะเดียวกัน 
    • ใช้สีที่ตรงกันข้ามหรือสีที่ตัดกัน เพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป
ส่วนมากจะใช้สีค่อนข้างเข้มข้น มีความตัดกันของสีสัน ทั้งนี้เพราะต้องการใช้สีเป็นตัว ดึงดูดความสนใจ ของผู้ชม   ในบางครั้งสีที่ใช้ อาจจะไม่เป็นไปตามธรรมชาติ    ทั้งนี้ขึ้นกับการออกแบบ  แนวทางสร้างสรรค์ และวัตถุประสงค์ในการจัดทำ

หลักการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี
      การใช้สีในสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ควรคำนึงถึงสีที่สื่อถึงหน่วยงาน สถาบัน
      ใช้สีให้เหมาะกับวัยของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการประชาสัมพันธ์
      การใช้สีตัวอักษรบนพื้นควรคำนึงถึงกฎการใช้สี 80: 20

ข้อควรพิจารณาในการออกแบบโปสเตอร์
     การสร้างความเด่น / จุดสนใจ
      ใช้ที่ว่างสีขาว สีพื้นอ่อน ๆ
      ใช้ภาพขยาย / ผิดสัดส่วน / เน้นเฉพาะจุดสำคัญ
      ใช้สีสดใส สะดุดตา
      คำนึงถึงความสวยงามและการสื่อความหมาย

ตัวอย่างผลงานโปสเตอร์












ตัวอย่างผลงานของข้าพเจ้า

keep your head up


Concept: keep your head up

สังคมในยุคปัจจุบัน ทุกคนติดโซเชียลมีเดียกันมาก มองไปทางไหนก็พบเจอแต่คนที่เล่นแต่โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน จนทำให้หลงลืมความสวยงามรอบตัว ทางเราต้องการจะสื่อให้ทุกคนทำตามคอนเซ็ปอยากให้ทุกคนลองเงยหน้ามองสิ่งสวยงามรอบตัว ชีวิตมีอะไรอีกเยอะมากกว่าแค่หน้าจอมือถือ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

E-newsletter ข่าวการศึกษา

เทคนิคการทำวิดีโอ Diptych